เครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า (EV Charger) ก็เป็นอีกส่วนนึงที่มีความสำคัญต่อประสิทธิภาพในการใช้งานรถไฟฟ้าของคุณ ซึ่งถ้าหากใครกำลังหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเครื่องชาร์จรถไฟฟ้า (EV Charger)
-
รถยนต์ที่ใช้ชาร์จยนต์ไฟฟ้า ต้องใช้ไฟกี่เฟส
- รถยนต์แต่ละรุ่นของแต่ละแบรนด์ในท้องตลาดต้องการกำลังไฟฟ้าในการชาร์จที่แตกต่างกัน โดยรถรุ่นที่มีขนาดแบตเตอรีขนาดเล็กได้แก่ PHEV เนื่องจากใช้พลังงานจากน้ำมันเชื้อเพลิงด้วย และบางรุ่นของ BEV ที่เน้นใช้ภายในตัวเมืองมีขนาดมอเตอร์ในการขับเคลื่อนขนาดเล็กจะมี On-Board Charger ขนาดเล็กและใช้เครื่องชาร์จรุ่น 7.4 kW ที่ใช้ไฟแบบ 1 เฟส ในขณะที่ BEV รุ่นที่ใช้มอเตอร์ในการขับเคลื่อนขนาดใหญ่มักจะใช้เครื่องชาร์จรุ่น 22 kW ที่ใช้ไฟแบบ 3 เฟส ทั้งนี้สามารถทราบข้อมูลที่แน่ชัดได้โดยสอบถามผู้จัดจำหน่ายรถนั้น ว่าเราสามารถใช้เครื่องชาร์จขนาดใหญ่กว่าความต้องการของรถได้ไหม โดยเครื่องชาร์จจะจ่ายไฟให้ตามเท่าที่รถต้องการ ในทางตรงกันข้ามหากเรานำเครื่องชาร์จที่มีขนาดน้อยกว่าที่รถต้องการ ก็จะต้องใช้ระยะเวลาในการชาร์จที่มากขึ้นตามสัดส่วนที่เครื่องจะจ่ายให้ได้
-
On-Board Charger ของรถยนต์รับ “กระแสไฟฟ้า” ได้สูงสุดกี่แอมป์
- On-Board Charger จะทำหน้าที่แปลงไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) เปลี่ยนเป็นไฟฟ้ากระแสตรง (DC) เข้าสู่แบตเตอรี่ของรถยนต์ ซึ่งขนาดของ On-Board Charger จะมีผลต่อกำลังในการชาร์จพลังงานไฟฟ้าเข้าไปเก็บยังแบตเตอรีของรถยนต์ ซึ่งหากต้องการเลือกเครื่องชาร์จให้เหมาะสมพอดีกับรถแต่ละรุ่นและติดตั้งระบบไฟฟ้าให้รองรับการชาร์จนั้นสามารถดูได้จากตารางทางด้านล่าง
-
มิเตอร์ไฟฟ้าที่ใช้เป็นขนาด 1 เฟสหรือ 3 เฟส มีแรงดัน 220 โวล์ทหรือ 380 โวล์ท ขนาดกระแสไฟฟ้ากี่แอมป์ เพียงพอกับชาร์จรถหรือไม่
- หากต้องการใช้เครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด ระบไฟฟ้าที่ติดตั้งและมิเตอร์ของการไฟฟ้าต้องรองรับความต้องการของเครื่องชาร์จได้อย่างเพียงพอ ระบบไฟฟ้าทั่วไปของประเทศไทยมี 2 ระบบ คือระบบไฟฟ้าแบบ 1 เฟส มีขนาดแรงดันที่ 220 โวลต์ และ 3 เฟสมีขนาดแรงดันที่ 380 โวลต์ ซึ่งสำหรับเครื่องชาร์จแบบ 3 เฟสหรือที่มีกำลังไฟฟ้าตั้งแต่ 11 kW ไปจะใช้ไฟฟ้าระบบ 3 เฟส นอกจากนั้นระบบไฟฟ้าจะต้องรองรับปริมาณการใช้ไฟฟ้าของเครื่องชาร์จและอุปกรณ์ในสถานที่นั้นทั้งหมด ซึ่งหากระบบไฟฟ้าที่ใช้อยู่ไม่เพียงพอ สามารถแจ้งไปยังการไฟฟ้าในพื้นที่นั้นมาดำเนินการเปลี่ยนมิเตอร์และจัดหาทีมช่างไฟฟ้าเพื่อติดตั้งเบรคเกอร์และสายไฟให้รองรับกับเครื่องชาร์จรถไฟฟ้านั้น
-
รถยนต์ไฟฟ้าใช้หัวชาร์จแบบไหน
- หัวชาร์จสำหรับเครื่องชาร์จชนิด AC มีหลายแบบ ซึ่งผู้ใช้ต้องเลือกให้สอดคล้องกับรถแต่ละคัน ซึ่งที่นิยมใช้ในประเทศไทยเป็นหัวชาร์จแบบ Type 2 โดยมีทั้งแบบ 1 เฟสและแบบ 3 เฟส นอกนั้นจะเป็นหัวชาร์จแบบ Type 1
-
โดยทั่วไปแล้วเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าจะมีสายชาร์จติดมากับเครื่องไหม
- เพื่อความสะดวกในการใช้งาน ทั้งนี้สำหรับบางรุ่นสามารถเปลี่ยนประเภทของหัวชาร์จได้ และโดยเฉพาะสำหรับเครื่องชาร์จที่ติดตั้งในที่สาธารณะ ที่ในบางสถานที่อาจให้ผู้ใช้จัดเตรียมสายชาร์จมาเอง ซึ่งผู้ใช้รถควรมีสายชาร์จติดรถไว้ตามประเภทและขนาดที่เหมาะสมกับรถ
-
ระยะเวลาในการชาร์จและขนาดแบตเตอรี่ของรถยนต์
- ขนาดของแบตเตอรี่ในรถยนต์ไฟฟ้าเปรียบเสมือนกับขนาดของถังน้ำมันในรถเชื้อเพลิงน้ำมัน โดยสามารถสอบถามได้จากผู้จัดจำหน่ายรถนั้นๆ ซึ่งขนาดของแบตเตอรีและขนาดของกระแสไฟฟ้าจะส่งผลต่อระยะเวลาในการชาร์จ ซึ่งเราสามารถกำหนดปริมาณการจ่ายไฟฟ้าในหน่วยแอมป์ ให้น้อยกว่าความต้องการของรถ เพื่อยืดอายุแบตเตอรีของรถได้ ทั้งนี้ระยะเวลาจะเป็นสัดส่วนตามปริมาณกระแสไฟฟ้าที่จ่ายให้ (ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณพลังงงานไฟฟ้าที่เหลืออยู่ในแบตเตอรีด้วย) เช่น รถ MINI Cooper SE EV มีแบตเตอรี่ขนาด 32.6 kWh ถ้าชาร์จด้วยไฟฟ้าแบบ AC ขนาด 11 kW จะใช้เวลาการชาร์จจาก 0 – 100% ประมาณ 3 ชั่วโมง (32.6/11 = 2.96 ชั่วโมง) เป็นต้น และในทางกลับกันหากจ่ายไฟฟ้าในขนาดที่ลดลงครึ่งนึง ก็จะใช้ระยะเวลาเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า
-
เพื่อให้การใช้งานเครื่องชาร์จรถไฟฟ้าได้ประสิทธิภาพสูงสุดและเหมาะสมปลอดภัยควรทำอย่างไร
- ควรติดตั้งโดยช่างที่ชำนาญ ใช้สายไฟและอุปกรณ์ที่มีขนาดรองรับเพียงพอ เช่นเบรกเกอร์ มีอุปกรณ์ป้องกันไฟรั่ว RCD และการเดินสายดินครบถ้วน